รองศาสตราจารย์แสงอรุณ รัตกสิกร เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2465 ที่ตำบลดงพระราม อำเภอเมืองฯ จังหวัดปราจีนบุรี เป็นบุตรของ พ.อ.พระยาวิเศษสิงหหนาท (สาหร่าย รัตกสิกร) และคุณหญิงระเบียบ สกุลเดิม คงพันธุ์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 6 คน คือ
1. นายแพทย์ ระวิรัศ รัตกสิกร
2. น.ส. นวลจันทร์ รัตกสิกร
3. นาย แสงอรุณ รัตกสิกร
4. น.ส. แสงจันทร์ รัตกสิกร
5. น.ส. ศรีจันทร์ รัตกสิกร
6. นาย อุทัย รัตกสิกร
เริ่มศึกษาที่โรงเรียนประจำจังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นย้ายมาศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ต่อมาเข้าศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับทุน ก.พ. ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกาเป็นเวลา ๒ ปี จนจบปริญญาโท สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Architecture) มหาวิทยาลัยคอร์เนล สหรัฐอเมริกา หลังจบการศึกษาจากคอร์เนล อ.แสงอรุณมีโอกาสไปใช้ชีวิตและฝึกงานอยู่กับสถาปนิกผู้ยิ่งใหญ่ของอเมริกา และของโลก “มหาพรหม” แฟรงค์ ลอย ไรท์ (Frank Lloyd Wright, ค.ศ. ๑๘๖๗-๑๙๕๙) ในสำนักทาไลซินตะวันออกบนเนินเขาวิสคอนซิ่นและทาไลซินตะวันตกในทะเลทรายอะริ โซน่า อ.แสงอรุณแต่งงานกับลดา สีบุญเรือง มีบุตรด้วยกันหนึ่ง เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้วก็เข้ารับราชการในคณะสถาปัตยกรรม ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2490 และยังมีผลงานเขียนหนังสือเช่น "แสงอรุณ 2" (1 ใน หนังสือ 100 เล่ม ที่คนไทยควรอ่าน), ตึก ต้นไม้ และแสงอรุณ, ทรรศนะอุจาด ,แสงอรุณแห่งสถาปัตยกรรม, " เรณู - ปัญญา " เที่ยวรถไฟ, อนุสาวรีย์ที่ไทยทำ โดยส่วนใหญ่ท่านใช้นามจริง เว้นบางเรื่องใช้นามปากกาว่า ส. รัตกสิกร ท่านยังมีฝีมือในการเขียนภาพลายเส้น นิสัยรักธรรมชาติและการศึกษาค้นคว้า เป็นผู้เผยแพร่ความรู้เรื่องอนุรักษ์ศิลปะและสิ่งแวดล้อมที่ดีเยี่ยมผู้ หนึ่ง
อ.แสงอรุณเป็นอาจารย์นอกรีต ใส่เสื้อปล่อยชาย ไม่ผูกเน็คไท ไว้หนวดเครารุงรัง จนอาจารย์บางคนรับไม่ได้หาว่าแต่งตัวไม่สมกับสถานะอาจารย์ เขาย้อนกลับเรียบๆ ว่า “คุณไปบอกอาจารย์พวกนั้นให้มาทำงานตรงเวลาดีกว่า...ท่านเป็นอาจารย์ที่มีจิตวิญญาณความเป็นครูอย่างแท้จริง สอนให้นักศึกษารักศิลปะและธรรมชาติสอนสนุกมีสีสัน ครั้งหนึ่ง ท่านได้วิจารณ์และอธิบายสถาปัตยกรรมแบบโกธิคให้นักศึกษาฟังว่า “สูงประหนึ่งสามารถเอามือไปเกาตีนพระเจ้าได้ ฉันนั้น” นอกจากอ.แสงอรุณจะ เป็นสถาปนิกและอาจารย์ที่เข้าใจในธรรมชาติ ปรัชญา ศิลปะ และสถาปัตยกรรมอย่างลึกซึ้งแล้ว ท่านยังเป็นศิลปินที่มีความสามารถหลายแขนง วาดรูปสวยระดับจิตรกรเอก เป็นประติมากรด้วยอ.แสงอรุณเป็นผู้มีวาจาเฉียบคมพอๆ กับเขียนหนังสือได้เฉียบคมและสละสลวย เต็มเปี่ยมไปด้วยวรรณศิลป์ ที่สำคัญที่สุดท่านเป็นคนรักธรรมชาติและความเป็นไทยอย่างที่สุด
อ.แสงอรุณ รัตกสิกร ถึงแก่กรรมอย่างกะทันหันที่บ้าน ด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลัน โดยไม่มีอาการป่วยใดๆ ล่วงหน้า เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ รวมอายุได้ ๕๖ ปี ๘ เดือน ๒๖ วันตำแหน่งสุดท้ายทางวิชาการเป็นรองศาสตราจารย์ระดับ ๙
อ.แสงอรุณ รัตกสิกร ถึงแก่กรรมอย่างกะทันหันที่บ้าน ด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลัน โดยไม่มีอาการป่วยใดๆ ล่วงหน้า เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ รวมอายุได้ ๕๖ ปี ๘ เดือน ๒๖ วันตำแหน่งสุดท้ายทางวิชาการเป็นรองศาสตราจารย์ระดับ ๙
การทำงาน
- 1 สิงหาคม 2497 ตำแหน่งอาจารย์โท
- 20 กรกฎาคม 2503 ตำแหน่งอาจารย์เอก
- 30 ตุลาคม 2511 ตำแหน่งชั้นพิเศษ
- 1 ตุลาคม 2512 ตำแหน่งรองศาสตราจารย์
- 1 ตุลาคม 2519 ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ระดับ 7
- 1 มิถุนายน 2520 ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ระดับ 8
- 22 พฤษภาคม 2522 ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ระดับ 9
ผลงานด้านงานเขียน
งานเขียนและผลงานของรองศาสตราจารย์ แสงอรุณ รัตกสิกร ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือชื่อ แสงอรุณ 2 เป็นหนังสือที่รวบรวมผลงานทั้งหลายของท่าน ไม่ว่าจะเป็นด้านงานเขียน หรือผลงานในด้านอื่นๆ มากมายหลังจากนั้นก็ได้มีการนำผลงานเขียนไปเผยแพร่ในหนังสือในเวลาต่อมา เช่นหนังสือชื่อ ตึก ต้นไม้ และแสงอรุณ: โลกทัศน์ของสถาปนิก และแสงอรุณแห่งสถาปัตยกรรม
งานเขียนและผลงานของรองศาสตราจารย์ แสงอรุณ รัตกสิกร ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือชื่อ แสงอรุณ 2 เป็นหนังสือที่รวบรวมผลงานทั้งหลายของท่าน ไม่ว่าจะเป็นด้านงานเขียน หรือผลงานในด้านอื่นๆ มากมายหลังจากนั้นก็ได้มีการนำผลงานเขียนไปเผยแพร่ในหนังสือในเวลาต่อมา เช่นหนังสือชื่อ ตึก ต้นไม้ และแสงอรุณ: โลกทัศน์ของสถาปนิก และแสงอรุณแห่งสถาปัตยกรรม
![]() |
หนังสือแสงอรุณแห่งสถาปัตยกรรม |
![]() |
หนังสือ ตึก ต้นไม้ และแสงอรุณ |
หนังสือแสงอรุณ 1 และ แสงอรุณ 2(จัดทำขึ้นเพื่อเป็นของที่ระลึกในงานศพของท่านอาจารย์แสงอรุณ รัตกสิกร)
ซึ่งในหนังสือ แสงอรุณ 2 นี้ มีบทความที่อ.แสงอรุณเขียนไว้มากมาย เป็นบทความที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อคนรุ่นหลังทั้งที่เรียนในสาย สถาปัตยกรรมและคนทั่วไป เป็นการเปิดมุมมองความคิดใหม่ๆ ท่านใช้ภาษาที่ตรงไปตรงมา อ่านแล้วมองเห็นภาพโดยรวมอย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น
ทรรศนะอุจาด
บทความเอกสารประกอบการบรรยาย เชียงใหม่ในสายตาของคนนอก ในการสัมมนาเรื่อง
“การพัฒนาเมืองเชียงใหม่และปัญหาสภาวะแวดล้อม” ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดย
รองศาสตราจารย์แสงอรุณ รัตกสิกร
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มลภาวะทางสายตา ซึ่งตรงกับศัพท์อังกฤษว่า Visual Pollution เป็นคำที่บัญญัติขึ้นใหม่เพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นในบ้านเมือง เรา ซึ่งมีสภาพทรุดโทรม ในความงามของบ้านเมืองและสภาพธรรมชาติแวดล้อม คำนี้อาจจะยืดยาด จึงขอใช้ศัพท์ของตัวเองว่า ทรรศนะอุจาด
ปัญหาเรื่อง ทรรศนะอุจาดที่เกิดขึ้นแก่เชียงใหม่นี้ ตามความเป็นจริงแล้วเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองเราทั่วไป ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ แต่เชียงใหม่เป็นเมืองสำคัญในด้านภูมิประเทศและวัฒนธรรมซึ่งมีลักษณะพิเศษ เฉพาะ และความงามงดงามอันทรงคุณค่าสูงนี้กำลังร่อยหรอลงอย่างเร็ว ถ้าไม่พิจารณายับยั้งและวางเป้าหมายของบ้านเมืองนี้ให้ถูกต้องแล้วจะเป็นการ สูญเสียที่ยิ่งใหญ่ของชาติ
ความรุนแรงในเรื่องทรรศนะอุจาดเกิดขึ้นหลัง สงครามโลกครั้งที่สองยุติลงเพราะสายการคมนาคมมีมากสายขึ้นและสะดวกขึ้น เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจและประชากร รวมทั้งการขยายตัวของวัฒนธรรมต่างถิ่นซึ่งเกิดขึ้นอย่างมาก เพราะปราศจากการพิจารณาและควบคุมด้วยกฎหมายของรัฐ ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดทรรศนะอุจาดแก่เชียงใหม่
ปัญหาทรรศนะอุจาดไม่มีในอดีต
ใน อดีตประเทศเราและประเทศอื่น ๆ ในโลกไม่เกิดปัญหานี้ ในราวศตวรรษที่ 19 ยุโรปเกิดทรรศนะอุจาดขึ้นในเมืองอุตสาหกรรม อันเป็นผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการปรับฐานะทางสังคมของชนชั้นพ่อค้า นายทุนอุตสาหกรรม ซึ่งด้อยในเรื่องรสนิยมแต่ก็ไม่รุนแรงนักเพราะโครงสร้างของบ้านเมืองฝรั่ง ยุคนั้นใช้ไวยากรณ์ศิลป์ในการสร้างอาคารและบริเวณแวดล้อมอย่างเดียวกันเป็น ส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับของไทย จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ซึ่งต่างก็สร้างไวยากรณ์ศิลป์ของตนขึ้น และใช้กันทั้งประเทศ ผลดีของการกระทำโดยมีไวยากรณ์ศิลป์แนวเดียวกัน ทำให้รูปพรรณของบ้านเมืองมีความกลมกลืน เชื่อมประสานกันไปโดยโดยตลอด
ใน ภาคเหนือ เราจะเห็นหลักฐานนี้ปรากฏเหลือในอาคารศาสนา ส่วนอาคารประเภทที่พักอาศัย ปัจจุบันเกือบจะหาดูไม่ได้ เพราะได้ถูกเจ้าของเปลี่ยนแปลงสภาพหรือไม่ก็รื้อถอนเพราะหมดอายุการใช้งาน และเจ้าของไม่เห็นว่าตนควรจะอยู่ในอาคารซึ่งมีรูปแบบศิลปะเดิมอีกต่อไป ความด้อยรสนิยมและอิทธิพลจากตะวันตกเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเปลี่ยน แปลง
การอยู่กันอย่างได้สมดุลย์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติทำให้เชียงใหม่ ในอดีตเป็นเมืองที่สวยงาม มีเสน่ห์เลื่องลือไปทั่วพระราชอาณาจักร เสน่ห์ของเมืองที่พอจะกล่าวอย่างย่อว่าชาวเมืองสร้างบ้านแปลงเมืองด้วย กฎเกณฑ์ศิลปกรรมอย่างเดียวกัน นั่นคือ อาคารมีขนาด รูปแบบ วัสดุก่อสร้างเช่นเดียวกัน อาคารใช้มาตราส่วนของมนุษย์ (Human Scale) เป็นหลัก ไม่ “ชิงเด่น” กันและกัน อาคารศาสนาเท่านั้นที่บรรจุความอลังการเต็มที่ อันเป็นผลของความศรัทธาของชาวเมืองที่มีต่อสิ่งที่ตนเห็นว่าเป็นความดีสูง สุดของชีวิต ทุกบริเวณบ้านเรือนและวัด พืชพันธุ์ไม้จะขึ้นสอดแซม ร่มเงาเขียวชอุ่ม ชาวเมืองยุคนั้นเห็นความสำคัญของพืชพันธุ์ไม้ซึ่งเป็นที่ผลิตอาหาร ให้วัสดุก่อสร้าง ซ่อมแซม เป็นเชื้อเพลิง เป็นร่มที่กรองความร้อนแรงให้บรรเทาลง ให้ภาพที่งามตาเวลาผลิดอกออกผล เป็นที่เพราะเสนาะหูเพราะนกจะมาร้องขาน ให้ความชื่นใจเพราะกลิ่นหอมของไม้ดอก ธรรมชาติรอบนอกเมืองไม่ถูกทำลายลงเช่นปัจจุบัน ความสมบูรณ์ของป่าทำให้น้ำลำธารไม่แล้งและสะอาดตลอดปี วัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น ชาวเมืองรักษาและปฏิบัติเพราะเชื่อและมั่นใจในการปฏิบัติกิจกรรมนั้น กิจกรรมจึงมีพลัง มีชีวิต และมีคุณค่าสูง
รูปแบบศิลปวัฒนธรรมที่ปรากฏจาก การกระทำของชาวเชียงใหม่ยุคนั้นเป็นสิ่งที่ควรถือว่า เป็นสมบัติของมนุษย์โลกนี้ มนุษย์ที่พัฒนาตนเองขึ้นมาอยู่ในชั้นสูง เพราะมิใช่ชาวเชียงใหม่หรือชาวไทยเท่านั้นที่จะมาชื่นชมปิติยินดีได้ มนุษย์โลกทุกรูปทุกนามย่อมสามารถสัมผัสความงามนั้นได้และเกิดความปิติเช่น เดียวกัน ทรรศนะอุจาดเกิดเพราะชาวเชียงใหม่ไม่เชื่อถือไวยากรณ์ศิลปกรรมเดิม รับความคิดที่ว่าความสำเร็จทางวัตถุเป็นความดีสูงสุดของชีวิต เป็นความจริงอย่างปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกตะวันออกยอมรับความเจริญก้าวหน้าทาง วัตถุเทคโนโลยีของชาวตะวันตก ผลที่ชาวตะวันตกได้สร้างอาณานิคมของตนขึ้นหลายแห่งในภูมิภาคโลกตะวันออกทำ ให้เรายอมรับว่าชาวตะวันตกเก่งกว่าเรา และธรรมชาติของคนนั้นก็จะต้องทำตัวเองให้เป็นคนเก่งหรือให้คนเก่งยอมรับตน ให้ได้
ญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้ ยุคที่ญี่ปุ่นต้องยอมรับความ “เก่งกว่า” ของฝรั่ง คนญี่ปุ่นก็พยายามทำตนและบ้านเมืองของตนให้เหมือนฝรั่ง บ้านเมืองของญี่ปุ่นเกิดการสร้าง “ทรรศนะอุจาด” ขึ้นไม่น้อยในยุคปรับตัวเองครั้งนั้น แต่ต้องชมญี่ปุ่นว่าไวยากรณ์ศิลป์ของญี่ปุ่นมีฐานที่มั่นคงแข็งแรงมาก ช่วยให้ญี่ปุ่นเข้าใจกับปัญหาทรรศนะอุจาดได้เร็ว แก้ไขทันเวลาและสร้างกฎหมายในการป้องกันเรื่องนี้ที่รัดกุมและเอาจริง (กว่าของเรา)
สำหรับไทยเราออกจะโชคไม่ดี รูปแบบของไวยากรณ์ศิลป์ของเราขาดการพัฒนาสืบเนื่อง เมื่อการขยายตัวของวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาถึงประเทศ เราเร่งปรับตัวเองเพื่อให้เขายอมรับ ช่วงนั้นเราหยุดการปรับปรุงไวยากรณ์ศิลป์ เรียกได้ว่าอย่างสิ้นเชิง และหันไปรับรูปธรรมใหม่ อย่างค่อนข้างรีบร้อน ทำให้ขาดการพิจารณาที่รอบคอบว่าอะไรควรไม่ควร เนื่องจากไม่ได้พิจารณาอย่างถูกต้องในการรับรูปธรรมศิลปะต่างถิ่นที่ขยายตัว เข้ามาสู่ประเทศไทยโดยเฉพาะในช่วงสำคัญ ระยะเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ เราไม่เข้าใจว่าความมีปัจเจกภาพหรือลักษณะเฉพาะตนซึ่งเป็นปรัชญาของศิลปกรรม ยุคใหม่นั้นจะต้องมีกฎเกณฑ์อะไรบ้างที่ยึดถือประกอบ โดยเฉพาะในเรื่องสถาปัตยกรรมและบริเวณแวดล้อม จึงทำให้การขยายแปลงบ้านเมืองของเราเป็นไปแบบตามอำเภอใจของแต่ละคน ไม่มีกฎเกณฑ์ซึ่งครั้งหนึ่งเราได้ยึดถือเป็นมาตราที่ใช้ร่วมกัน (นอกจากกฎเกณฑ์เทศบัญญัติในเรื่องความแข็งแรง และส่วนเปิดส่วนปิดซึ่งเขียนไว้แต่ก็ถูกละเมิดกันเสมอโดยไม่มีผลลงโทษอะไร)
การ ขยายตัวของการค้าที่รุนแรงที่สุดในประวัติของประเทศ เป็นสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้เกิดผลเสียแก่รูปแบบของบ้านเมือง การโฆษณาเร่งเร้าจิตใจ มีผลให้เกิดทรรศนะอุจาดที่มากขึ้นทุกขณะ ป้ายโฆษณาอันใหญ่โตและพิลึกพิลั่น ใช้สีฉูดฉาดเพื่อผลการเตะตาเป็นใหญ่ อาคารร้านค้าซึ่งก็ต้องดำเนินการก่อสร้างเพื่อผลของการเด่นสะดุดตา ทำให้อาคารบ้านเรือนมีรูปแบบในลักษณะ “ชิงเด่น” กันทั่วไป แล้วในที่สุดก็เลยลามมาถึงอาคารประเภทพักอาศัย ซึ่งจะต้องแสดงความชิงเด่นให้ปรากฏ มีความไม่เหมือนใคร ความแปลกกว่าใคร เหล่านี้เป็นผลมาจากผู้ออกแบบบ้านและเมืองไม่เข้าใจถ่องแท้ในปรัชญา สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ และแน่นอนผลคือ ทรรศนะอุจาดในที่สุด
ปัญหาสำคัญอีก ประการหนึ่ง คือการไม่ได้สมดุลย์ระหว่างมนุษย์และที่ทำกิน อันเป็นผลที่เกิดจากการที่รัฐไม่สามารถควบคุมอัตราเกิดของประชากร การกระจายรายได้ การจัดสรรที่ทำกินอันเหมาะสมและการควบคุมพื้นที่ธรรมชาติอันควรสงวนไว้เป็น แหล่งต้นน้ำลำธาร และทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้ประชาชนบุกรุกทำลายธรรมชาติลงเพื่อยังชีพอย่างที่เรียกได้ว่ารุนแรงที่ สุดในประวัติศาสตร์ของผืนแผ่นดินนี้ นี่เป็นทรรศนะอุจาดที่กระจายออกกว้างขวางทั่วประเทศและเป็นปัญหาที่ดูจะหนัก ขึ้นทุกที สภาพตามธรรมชาติแวดล้อมที่เคยห้อมล้อมบ้านเมืองของเราก็ร่อยหรอลงไป ส่งผลให้จิตสัมผัสของเราเสื่อมสภาพลง
เป้าหมายของการสร้างบ้านสร้างเมืองที่ควรจะเป็นไป
เนื่อง จากการปลุกระดมในการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจได้มีอย่างกว้างขวาง ทำให้เราส่วนใหญ่เห็นว่าความดีสูงสุดของชีวิต คือความเป็นคนมีเงิน คนรวย เมืองทั้งหลายของเราดูจะมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างเพื่อเป็นแหล่งดึงดูดเงิน และมรรควิธีที่นักธุรกิจการเงินส่วนใหญ่ของเราคิดว่าจะได้ผลดีได้นำมาใช้ ก็คือมรรควิธีแบบการค้า การจับใจ การชิงเด่น ยิ่งเด่นดังเท่าไรจะทำให้ได้เงินมากเท่านั้น เป้าหมายของบ้านเมืองในแบบที่กล่าวมานี้ ได้พิสูจน์ชัดเจนขึ้นทุกขณะแล้วว่าเป็นทางที่ผิด เมืองพัทยาคงจะพอเป็นตัวอย่างได้ว่าล้มเหลวสกปรกเพียงไร และนักทัศนาจรที่มีรสนิยมและมีสติปัญญาหลีกเลี่ยงเมืองนี้ นอกจากนักทัศนาจรที่ “มันจุกอก” (เช่นนาวีอเมริกันที่เหมาพัทยาแทบทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งเชื้อโรค)
การ สร้างฐานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคงไม่มีวิธีอื่นใดแล้วหรือนอกจากวิธีนี้ ซึ่งอยากจะเรียกว่า วิถีของคนไร้รสนิยม ผลของการสร้างบ้านเมืองที่มีความอุจาดต่าง ๆ ทั้งผลร้ายอันคาดคำนวณค่ามิได้แก่ประชาชนของเรา และรัฐจะต้องทุ่มทุนมหาศาล ในการที่จะซ่อมแซมบูรณะความแหลกยับของกายและจิตใจของประชาชน มากกว่าเงินที่ได้จากนักทัศนาจร และสำหรับสภาพธรรมชาติแวดล้อมของบ้านเมือง มรดกวัฒนธรรมที่สูญสลายไป อาจจะไม่อาจเรียกกลับคืนมาได้ไม่ว่าจะมีเงินมากขนาดไหนก็ตาม
เป้าหมายที่ ควรพิจารณาในการที่จะสร้างบ้านเมืองของเรานั้น เห็นจะไม่หนีไปจากการนำปรัชญาพุทธศาสนามาใช้ นั่นคือ ความร่มเย็น ความสะอาดมัธยัสถ์ ความสงบ ความร่มเย็นคือการที่ให้ธรรมชาติเป็นเด่น มิใช่มนุษย์ พืชพันธุ์ไม้น้อยใหญ่จะต้องสร้างคืนให้แก่แผ่นดิน ตามที่ธรรมชาติท้องถิ่นได้กำหนดมานับแต่โลกนี้เกิด ในภูมิภาคโลกที่ประเทศเราตั้งอยู่นี้ ธรรมชาติกำหนดให้เป็นที่ที่พืชพันธุ์ไม้ขึ้นได้สมบูรณ์และสะพรั่ง เรามีแสงแดดกล้า ความร่มเย็นจะได้จากเงาร่มไม้ใหญ่น้อยกรองความร้อนลง (มิใช่จากเครื่องปรับอากาศ) ธรรมชาติให้ภูมิประเทศแถบนี้เป็นแหล่งผลิตอากาศให้คนหายใจ อันนี้เราควรจะถือว่าเป็นคำสั่งสูงสุดจากธรรมชาติที่มนุษย์จะละเมิดมิได้ เมื่อเราทำลายป่าลงเพื่อการผลิตอาหาร เราก็ต้องทำอย่างประณีตรอบคอบและต้องรักษาสมดุลย์ธรรมชาติที่กล่าวมานี้ไว้ ตลอดเวลา
เมืองควรจะเป็นเมืองแบบอุทยานนคร เชียงใหม่และเมืองไทยเกือบทุกเมืองในอดีตเป็นแบบนี้ กรุงเทพฯ เพิ่งพ้นสภาพอุทยานนครไปยังไม่ถึงร้อยปีดี เชียงใหม่ยังไม่ถึงห้าสิบปีเสียด้วยซ้ำ (คิดแล้วเศร้าใจจริง ๆ ) ขอเสนอว่า ภายในเขตเมืองเก่าของเชียงใหม่ซึ่งมีคูเมืองล้อมอยู่ ควรที่จะให้พืชพันธุ์ไม้เป็นเอก อาคารบ้านเรือนให้ซ่อนตัวอยู่หลังต้นไม้ จะตระหง่านเด่นได้ก็แต่เพียงยอดเจดีย์และโบสถ์วิหาร ต้นไม้ควรเป็นไม้พื้นเมืองหรือไม้ไทย เพื่อความเป็นเอกลักษณะ ง่ายแก่การทำการดูแลรักษา
ความสะอาดและมัธยัสถ์ ข้อนี้เป็นข้อที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อคิดถึงปัญหาการร่อยหรอของทรัพยากรธรรมชาติและการเติบโตแบบ ระเบิดของประชาชนของเรา ถ้าผู้ที่จะสร้างบ้านเมืองปล่อยให้ใครใคร่สร้าง สร้างแล้ว จะเกิดการขาดแคลนที่ดินวัสดุก่อสร้าง การไม่สมดุลย์แบบนี้จะก่อให้เกิดปัญหานานัปการติดตามมาอีก
ดังได้กล่าวมา แล้ว เชียงใหม่ในอดีตเป็นเมืองที่สร้างขึ้นโดยการใช้มาตรามนุษย์เป็นหลัก นี่คือการประหยัด มนุษย์ใช้เนื้อที่พอสมควรแก่การดำรงชีวิต ใช้วัสดุก่อสร้างพอดี ไม่ฟุ่มเฟือย เราควรนำวิธีการดังเดิมนี้มาใช้ แม้ว่าเราจะมีวิธีการกินอยู่หลับนอนที่แตกต่างไปจากอดีต แต่มนุษย์ปัจจุบันก็คือมนุษย์ซึ่งมีส่วนกว้างยาวไม่แตกต่างกว่าสมัยก่อน เราจะประหยัดเนื้อที่ได้มากกว่าครั้งบรรพบุรุษของเราใช้เสียด้วยซ้ำไป เพราะอุปกรณ์สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ประยุกต์ช่วยอำนวยความสะดวก ย่นเวลาและเนื้อที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิธีการอยู่อย่างนี้ ความสะอาดจะเป็นผลที่ติดตามมา เพราะเนื้อที่กระชับตัวลง อุปกรณ์ในการดำรงชีวิตไม่ต้องมีมากชิ้นมากอย่าง ดูแลรักษาได้ง่าย และที่สำคัญความสะอาดจะทำให้เรามีแผนการล่วงหน้าในการทำงาน เป็นผู้พิจารณาการกระทำเสมอ และความสะอาดขจัดทรรศะอุจาดไปโดยปริยาย
ความ สงบเป็นสิ่งสำคัญแก่ชีวิตมนุษย์ ความสงบทางสายตามีความสำคัญเท่า ๆ กับความสงบทางหู และทางกาย ความสงบทำให้ชีพจรของเราสม่ำเสมอ มีความปกติ รูปแบบของบ้านเมืองทั้งหมดควรวางเป้าหมายในทางไม่เร่งเร้าอารมณ์
เมือง เชียงใหม่ในเขตเมืองเก่า ไม่ควรให้มีป้ายโฆษณาใด ๆ เกิดขึ้น ถ้าจำเป็นจะต้องมีควรกำหนดขนาด รูปแบบ อาคารทุกชนิดควรให้ต้นไม้เป็นเด่น และไม่ควรสูงเกินยอดไม้ (นอกจากอาคารศาสนาเดิม ดังที่กล่าวไว้แล้ว) รูปแบบอาคารควรกำหนดการใช้วัสดุที่เป็นไปในลักษณะกลมกลืนกับธรรมชาติแวดล้อม เป็นวัสดุที่ผลิตขึ้นในท้องถิ่นถ้าเป็นไปได้ เพื่อผลในการสร้างเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรม และที่สำคัญ รูปแบบอาคารควรจะสะท้อน หรือแสดงการเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมเดิมของลานนา (แต่ไม่ใช่การลอกเลียนของเก่าเอาดื้อ ๆ ซึ่งจะเป็นแบบเล่นละครกันไป เวลานี้ก็เห็นกาแล ค.ส.ล.* กันเกลื่อนเมือง ซึ่งการออกแบบเช่นนี้ไร้คุณค่าทางสุนทรียศาสตร์
เรื่อง ทั้งปวงก็พอจะสรุปได้ว่า เป้าหมายของการสร้างบ้านเมืองเชียงใหม่ ควรดำเนินไปในลักษณะอุทยานนคร มีบรรยากาศที่ร่มรื่น สงบ สะอาด สำรวม สิ่งที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมจะต้องได้รับการรักษาดูแลและบูรณะอย่างดีเยี่ยม และที่ถูกรุกล้ำโดยประการใด ๆ จะต้องยุติทันที (เช่น ปักเสาไฟฟ้าตามแนวกำแพงเมืองเดิม ถมคูเมืองสร้างห้องแถว) ลักษณะอุจาดแก้ไขได้ทันทีเวลานี้คือ การปลูกต้นไม้ยืนต้นตามแนวถนนทุกสาย ต้นไม้จะช่วยปิดบังทรรศนะอุจาดของอาคารทั้งหลาย และช่วยให้ความคิดแก่ผู้จะคิดสร้างอาคารประเภท “ชิงเด่น” ว่า สร้างไปก็ไร้ประโยชน์ ต้นไม้บังหมด ในที่สุดก็คงจะเลิกการสร้างความชิงเด่นไปเอง ต้นไม้ที่เลือกชนิดให้ถูกต้องจะสร้างเอกลักษณะให้แก่เมือง เป็นที่อันร่มเย็นไม่ใช่เฉพาะมนุษย์เท่านั้น แม้แต่นกก็จะมาร่วมอาศัยและตอบแทนชาวเมืองด้วยเสียงร้องไพเราะ เช่นนกปรอทหัวโขนซึ่งเป็นนกเสียงดี รูปก็งาม และยังบินกันทั่วบริเวณสวนของเชียงใหม่ จะยังไม่สายเกินไปที่จะสร้างอุทยานนคร
ขอให้ทรรศะอุจาดจงอย่างได้ผุดบังเกิดอีกเลยในนครแห่งนี้หลังจากที่การสัมมนาครั้งนี้จบลง
(ที่มา:หนังสือแสงอรุณ 2)
ผลงานด้านภูมิสถาปัตยกรรม
ท่านได้มีผลงานออกแบบสวนรัฐสภา ได้มีโอกาสออกแบบงานประติมากรรมในสวนแห่งนี้ด้วย
ท่านได้มีผลงานออกแบบสวนรัฐสภา ได้มีโอกาสออกแบบงานประติมากรรมในสวนแห่งนี้ด้วย
รูป ปฏิมากรรมโลหะเชื่อม ลอยตัวในสระสะท้อนเงาหน้าทางขึ้นลงด้านหน้าของตึกประชุม งานชิ้นนี้ทำที่โรงงานนครราชสีมาโดยได้รับคำแนะนำทางเทคนิคและอุปกรณ์จาก อ.ดิเรก มานะพงศ์
ผลงาน CERAMIC MURAL PAINTING(อาคารเรียนโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน)
ศิลปกรรมภาพผนังเคลือบดินเผากลางแจ้ง (CERAMIC MURAL PAINTING) ซึ่งเป็นผลงานรังสรรค์ของ รศ.แสงอรุณ รัตกสิกร ประดับอยู่บริเวณอาคาร โดยงานเซรามิค ทั้ง 5 ชิ้นนี้ อาจารย์แสงอรุณได้ออกแบบและติดตั้งควบคู่ไปกับกรสร้างอาคารเรียน ส่วนสาเหตุที่อาจารย์แสงอรุณ มาสร้างภาพเซรามิคให้โรงเรียนนั้น เป็นเพราะทางโรงเรียนต้องการศิลปะที่ทันสมัยแฝงความเป็นไทย และคงอยู่ได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ให้สมกับที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนจะต้องมองไปข้างหน้าเพื่อแสวงหาสิ่งที่ ดีกว่า ประกอบกับอาจารย์แสงอรุณ
งานภาพผนังเคลือบดินเผาทั้ง 5 ชิ้นนี้จัดเป็ฯศิลปะแบบ Visual Art คือสื่อความหมายทางตา มีทั้งส่วนที่เรียบง่าย และส่วนที่เป็นกึงนามธรรม (Semi Abstract) ซึ่งงานลักษณะนี้ จัดเป็นงานสร้างสรรค์ ไม่ใช่งานลอกเลียน หรือเขียนให้เหมือนจริง และที่สำคัญทำให้ผู้ดู ดูแล้วเกิดความคิด ต้องพยายามศึกษาค้นคว้า หรือตั้งคำถาม ถามตนเอง ดูว่าสิ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร ถึงแม้แต่ละคนจะรู้สึกสัมผัสได้ไม่เท่ากันก็ตาม เช่นชาวคริสต์จะสัมผัสได้ในแนวทางหนึ่ง ส่วนคนที่สนใจในศิลปะก็อาจจะสัมผัสได้ในอีกแนวทางหนึ่ง ซึ่งก็นับว่างานหเหล่านี้มีคุณค่าทางศิลปะแฝงอยู่ในตัว
นอกจากนี้การใช้ความคิดริเริ่ม เพื่อจะสื่อผลงานศิลปะในแนวจิตกรรมให้คงอยู่คู่กับสถาปัตยกรรมอย่างถาวรนั้น การใช้ภาพผนังเคลือบดินเผาจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพราะทนแดดทนฝน เหมาะกับการตั้งนอกอาคาร อาจจะกล่าวได้ว่าวิธีนี้เป็นการนำแนวศิลปะในรูปแบบต่างๆมารวมไว้ด้วยกัน ทั้งศิลปะกับชีวิตประจำวันและศิลปะกับสิ่งแวดล้อม ทำให้งานชิ้นน้จัดได้ว่ามีคุณค่าทางการออกแบบด้วย
จะเห็นได้ว่าผลงานเซรา มิคของอาจารย์แสงอรุณนั้นเป็นงานที่มีคุณค่าทางประวัติสาสตร์ คุณค่าทางด้านศิลปะ และคุณค่าทางด้านออกแบบ ซึ่งความหมายแท้จริงที่แฝงอยู่ในตัวผลงานเหล่านั้น คงไม่มีใครบอกได้ดีเท่ากับตัวของอาจารย์แสงอรุณเอง แต่น่าเสียดายปัจจุบันอาคารแห่งนี้ถูกทุบทำลายเพื่อสร้างอาคารเรียนใหม่แล้ว คงเหลือแต่ความทรงจำเท่านั้นเอง
งานภาพผนังเคลือบดินเผาทั้ง 5 ชิ้นนี้จัดเป็ฯศิลปะแบบ Visual Art คือสื่อความหมายทางตา มีทั้งส่วนที่เรียบง่าย และส่วนที่เป็นกึงนามธรรม (Semi Abstract) ซึ่งงานลักษณะนี้ จัดเป็นงานสร้างสรรค์ ไม่ใช่งานลอกเลียน หรือเขียนให้เหมือนจริง และที่สำคัญทำให้ผู้ดู ดูแล้วเกิดความคิด ต้องพยายามศึกษาค้นคว้า หรือตั้งคำถาม ถามตนเอง ดูว่าสิ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร ถึงแม้แต่ละคนจะรู้สึกสัมผัสได้ไม่เท่ากันก็ตาม เช่นชาวคริสต์จะสัมผัสได้ในแนวทางหนึ่ง ส่วนคนที่สนใจในศิลปะก็อาจจะสัมผัสได้ในอีกแนวทางหนึ่ง ซึ่งก็นับว่างานหเหล่านี้มีคุณค่าทางศิลปะแฝงอยู่ในตัว
นอกจากนี้การใช้ความคิดริเริ่ม เพื่อจะสื่อผลงานศิลปะในแนวจิตกรรมให้คงอยู่คู่กับสถาปัตยกรรมอย่างถาวรนั้น การใช้ภาพผนังเคลือบดินเผาจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพราะทนแดดทนฝน เหมาะกับการตั้งนอกอาคาร อาจจะกล่าวได้ว่าวิธีนี้เป็นการนำแนวศิลปะในรูปแบบต่างๆมารวมไว้ด้วยกัน ทั้งศิลปะกับชีวิตประจำวันและศิลปะกับสิ่งแวดล้อม ทำให้งานชิ้นน้จัดได้ว่ามีคุณค่าทางการออกแบบด้วย
จะเห็นได้ว่าผลงานเซรา มิคของอาจารย์แสงอรุณนั้นเป็นงานที่มีคุณค่าทางประวัติสาสตร์ คุณค่าทางด้านศิลปะ และคุณค่าทางด้านออกแบบ ซึ่งความหมายแท้จริงที่แฝงอยู่ในตัวผลงานเหล่านั้น คงไม่มีใครบอกได้ดีเท่ากับตัวของอาจารย์แสงอรุณเอง แต่น่าเสียดายปัจจุบันอาคารแห่งนี้ถูกทุบทำลายเพื่อสร้างอาคารเรียนใหม่แล้ว คงเหลือแต่ความทรงจำเท่านั้นเอง
ผลงานด้านงานภาพเขียนบางส่วน
อ.แสงอรุณ ได้รับอิทธิพลในการวาดภาพดินสอ และยกย่อง ทีโอดอร์ คอสกี้ ชาวฮังการี เป็นครูใหญ่ในการวาดภาพ Outdoor sketch เพราะ ทีโอดอร์ คอสกี้เป็นผู้ที่ขยายขอบของภาพเขียนดินสอออกไปโดยการเหลาดินสอแบนแบบปากเป็ด ซึ่งถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของท่านอย่างแท้จริง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- 2493 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย
- 2494 เหรียญพระบรมราชาภิเษก ร.9
- 2496 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก
- 2498 จตุรถาภรณ์มงกุฎไทย
- 2500 จตุรถาภรณ์ช้างเผือก
- 2510 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
- 2512 ทวิติยาภรณ์มงกุฎไทย
- 2515 เหรียญจักรพรรดิมาลา
- 2517 ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก
- 2520 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
ความคิด ข้อเขียน ภาพเขียนและงานประติมากรรมของรองศาสตราจารย์ แสงอรุณ รัตกสิกร ปรากฏมาหลายสิบๆปีแล้ว แต่ทว่าผลงานต่างๆเหล่านั้น ยังคงคุณค่าควรแก่การที่สถาปนิกทั้งรุ่นเก่ารุ่นใหม่ และผู้ใฝ่รู้ทั้งหลายจะได้มีไว้เพื่อศึกษาและยึดถือนำไปปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่สังคมกำลังหลงทางกำลังถูกครอบงำด้วยความโลภ กำลังอยู่ในความอุจาดแทนที่จะดำรงชีวิตอยู่อย่างสามัญ
"...ความสงบระงับ ควรจะเป็นเป้าหมายในการดำรงชีวิตของเรา และด้วยวิธีนี้เท่านั้นที่ความเป็นมนุษย์ของเราจะพัฒนาสูงขึ้น..."
(ตึก ต้นไม้ และแสงอรุณ . . . อ. แสงอรุณ รัตกสิกร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
(ตึก ต้นไม้ และแสงอรุณ . . . อ. แสงอรุณ รัตกสิกร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
สนใจหนังสือแสงอรุณ 1 และ 2
ตอบลบไม่ทราบพอมีใครจะขายหรือมีแหล่งซื้อที่ไหนบ้างครับ
ติดต่อ saha.spk@gmail.com
ใครทราบชะตากรรมของประติมากรรมกลีบบัวแห่งประชาธิปไตยบ้าง เห็นครั้งสุดท้ายถูกย้ายจากสวนหน้าตึกประชุมรัฐสภา ไปอยู่ข้างพระที่นั่งอนันตสมาคม ฤาถูกบังคับให้สูญหายดั่งเช่นหมุดย่ำรุ่ง ของคณะราษฎร์เสียแล้ว!
ตอบลบ